วันที่ 14 ธันวาคม 2555
การเรียนการสอน
อาจารย์ได้ส่งกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อ เเละได้ถามว่าวันที่4ธันวาคมที่ผ่านใครยังไม่ได้เขียนชื่อ
บ้างที่ไปเต้นแอโรบิค แต่ส่วนมากก้เขียนกันหมดเเล้วยกเว้นคนที่ไม่ไปร่วมกิจกรรมเท่านั้น
- อาจารย์ได้ถามว่า " เมื่อพูดถึงมาตรฐานจะนึกถึงอะไร " การวัด การได้รับการยอมรับ หลักเกณฑ์ คุณภาพ
- มาตรฐานมีความจำเป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถเลือกได้ว่าอะไร ดีอะไรไม่ดีดูได้จากมาตรฐาน
- สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี
- อาจารย์ได้ถามว่าทำไมเด็กถึงไม่ชอบคณิตศาสตร์นักศึกษาตอบอาจ เป็นเพราะว่า ทัศนคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ การเรียน การสอน การเลี้ยงดูจากพ่อ แม่
- อาจารย์ให้อ่านมาตรฐานในหนังสือ "คู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย" ให้เพื่อนๆฟัง เเละได้อธิบายให้นักศึกษาฟัง
- พอสอนได้ซักพักหนึ่งอาจารย์ก็ไกด้รับโทรศัพย์ให้ไปประชุม ในวันนี้เลยมไม่ได้เรียนครบชั่วโมง
- ให้ไปตัดกระดาษเส้นผ่านศูนกลาง 2 4 6 มาอย่างละเเผ่น (ยกเลิกเเเล้ว)
- และอาจารย์ก็เตือนให้วาดรูปสื่อที่เราจะต้องทำส่งมาทางเมลล์
องค์ความรู้ใหม่
- กรอบมาตรฐานคือ สิ่งที่จะเป็นเเนวทางจะทำให้เราได้จัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องอะไร และจัดอย่างไร
- ภาษากับคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญ เราก็ควรที่จะจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม
- การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กควรนึกถึงพัฒนาการของเด้กว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้างก็จะส่งผลให้เด็กพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
- เเรกเกิด- 6ปีเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันที่ 7 ธันวาคม 2555
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้เอากล่องที่แต่ละคนเตรียมมาเอาออกมา เเล้วอาจารย์ถามแต่ละคนว่ากล่องที่ตัวเองเอามาสามารถเป็นอะไรได้บ้าง บางคนก็ตอบว่าหมา หุ่นยนต์ รถไฟ บ้าน รีโมท โทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น เเละอาจารย์ถามว่าจากที่อาจารย์ถามทำให้เราเห็นถึงอะไร นักศึกษาก็ร่วมกันเเสดงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องของจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- อาจารย์ให้นับว่าคนในห้องมีทั้งหมดกี่คน ให้นับเริ่มต้นตั้งแต่คนเเรกจนถึงคนสุดท้ายมีทั้งหมด 33 คน
เเละห้จัดกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11 คน โดยให้นั่งเป็นกลุ่ม นำกล่องที่เเต่ละคนมีเอามารวมกัน เเละให้วางเป็นอะไรก็ได้ตามที่เราคิด เเละมีเงื่อนไขดังนี้
- กลุ่มที่ 1 ให้ปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มได้
- กลุ่มที่ 2 คุยกันได้เพียงครั้งเเรก เเละก็ต่างคนต่างวางกล่อง
- กลุ่มที่ 3 ห้ามคุยกันเลย
- พอทำเสร็จอาจารย์ก็ให้วางบนโต๊ะอาจารย์ กลุ่มของเราทำ หุ่นยนต์ 2012
บันทึการเรียนครั้งที่ 5
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ได้อธิบายและให้ความหมายของขอบข่ายคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ดังนี้
นิตยา ประพฤติกิจ( 2541:17-19)
- ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางภาษา
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ได้อธิบายและให้ความหมายของขอบข่ายคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ดังนี้
นิตยา ประพฤติกิจ( 2541:17-19)
- ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางภาษา
- การจับคู่
- การจัดประเภท ต้องมีการกำหนดประเภท ต้องตั้งเกณฑ์เดียวสำหรับสอน
- การเปรียบเทียบ ต้องหาค่าปริมาณ เด็กเล็กไม่สามารถบวก ลบได้
- การจัดลำดับ ต้องหาค่าเเละมาเปรียบเทียบ เเละเอาค่ามาเรียง
- รูปทรงเเละเนื้อที่
- การวัด การหาค่าที่เป็นปริมาตร ต้องนึกถึงหน่วย
- เซต ต้องสอนเซตอย่างง่ายๆ
- เศษส่วน ต้องนึกถึงทั้งหมด ต้องแบ่งอย่างละเท่าๆกัน
- การทำตามเเบบหรือลวดลาย
- การอนุรักษ์
เยาวพา เดชะคุปต์( 2542 : 87-88 ) ได้เสนอการสอนเเนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
- การจัดกลุ่มหรือเซต
- จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
- ระบบจำนวน
- ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
- คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
- ลำดับที่
- การวัด
- รูปทรงเรขาคณิต ได้เเก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง
- สถิติและกราฟ ได้เเก่ การศึกษาจากการบันทึกทำเเผนภูมิ
ซึ่งก็มีทั้งความเหมือนเเละเเตกต่างกัน
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทีกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555
กิจกรรมกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
ข้าพเจ้าได้อยู่ในคณะสีส้มทำหน้าที่เป็นกองเชียร์ ไม่ได้เข้าซ้อมเชีย
แต่สั่งเสื้อกีฬาสีไว้ ชำระเงินค่าเสื้อแล้ว แต่ไม่ได้เสื้อ จึงไม่ได้มาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสี
กิจกรรมกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
ข้าพเจ้าได้อยู่ในคณะสีส้มทำหน้าที่เป็นกองเชียร์ ไม่ได้เข้าซ้อมเชีย
แต่สั่งเสื้อกีฬาสีไว้ ชำระเงินค่าเสื้อแล้ว แต่ไม่ได้เสื้อ จึงไม่ได้มาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสี
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันที่17 พฤศจิกายน 2555
อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ไปศึกษามา จากนั้นให้นักศึกษาสรุปความรู้ตามความเข้าใจ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
การเรียนการสอน
1. อาจารย์ให้นักศึกษา Link blog
2.อาจารย์ั่สั่งงานให้สืบค้น ดังนี้
1. หาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
2. หาความหมายของคณิตศาสตร์
3. หาจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
4. การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีทฤษฎีอะไรบ้าง
5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
6. หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. ความสามารถในการสำรวจ
เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน จากการศึกษาของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับการจำการลืมของมนุษย์พบว่า คนเรามีอัตราการจำหรือลืมดังกราฟข้างล่างนี้
คนที่เก่งคณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง เพราะคณิตศาสตร์มิใช่เป็นเพียงราชินีของวิทยาศาสตร์ดังเช่นที่ เกาส์นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้ในอดีตเท่านั้น ปัจจุบันคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของศาสตร์อีกหลายสาขาเช่น วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ฯลฯ เราลองนึกภาพถ้าเรามีเกษตรกรที่เก่งคณิตศาสตร์ เราคงจะได้ปุ๋ยสูตรใหม่ๆ การกำจัดแมลงวิธีใหม่ หรือพืชพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะกับบ้านเรา หรือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทำเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่า ตลอดจนแปรรูปผลิตผลทางเกษตรให้เป็นสินค้าที่จะนำรายได้สู่ครอบครัวหรือประเทศ เรามีคนที่มีคุณสมบัติอย่างนี้น้อยมาก
เทคนิคการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เป้าหมายสูงสุดของการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพต่างๆ หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นต้องเรียนคณิตศาสตร์มากนัก บวก ลบ คูณหารจำนวนเราก็มีเครื่องคิดเลขใช้แล้ว นับว่าเป็นความเข้าใจผิด คณิตศาสตร์มิใช่เพียงต้องให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น
ในโลกยุคปัจจุบันเมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์เราควรได้คุณสมบัติต่อไปนี้จากการเรียน
1. ความสามารถในการสำรวจ
2. ความสามารถในการคาดเดา
3. ความสามารถในการให้เหตุผล
4. ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัตินี้เรียกว่าศักยภาพทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Power) ไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไรถ้าเรามีคุณสมบัตินี้ เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีศักยภาพทางคณิตศาสตร์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ถ้าเราถูกสอนโดยวิธีครูบอกความรู้ หรือเทคนิคลัดๆ ให้ท่องจำ นำไปใช้โดยปราศจากความเข้าใจ ไม่รู้ที่มา ไม่รู้เหตุผล เราก็จะไม่ได้คุณสมบัติดังกล่าว อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์ เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา เราควรได้สิ่งต่อไปนี้
1. มีความรู้ใน คำศัพท์ บทนิยาม หลักการ ทฤษฎีบท โครงสร้าง วิธีการ
มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้ แปลงปัญหาจากรูป หนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้ ตรวจสอบผลที่เกิดได้
มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้ แปลงปัญหาจากรูป หนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้ ตรวจสอบผลที่เกิดได้
2. มีทักษะต่างๆ ดังนี้ ทักษะการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ การวัด การประมาณ การอ่านและแปลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การทำนาย และการใช้คอมพิวเตอร์
3. มีความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้
เราจะมีวิธีเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดี
1. เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือถามผู้รู้ต่อไป
2. หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้าทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย
4. ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
5. ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่างๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมากๆ เช่นโจทย์แข่งขันเป็นต้น
เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน จากการศึกษาของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับการจำการลืมของมนุษย์พบว่า คนเรามีอัตราการจำหรือลืมดังกราฟข้างล่างนี้
จากการทดลองของนักจิตวิทยา พบว่าเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวัน เราจะจำเรื่องราวที่ตนอ่านไปได้ประมาณครึ่งหนึ่ง และลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งของที่เหลือทุก 7 วันนในที่สุดจะนึกไม่ออกเลย การที่จะให้สิ่งที่เรียนมาไปอยู่ติดตัวเราได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราควรกลับไปทบทวนทันทีที่เราเรียนในแต่ละวัน จากนั้นเราทิ้งช่วงไปทบทวนรวบยอดในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เพื่อมิให้เกิน 7 วัน จากนั้นเราทิ้งช่วงเป็น 2 สัปดาห์ควรทวนอีกครั้ง และเมื่อผ่านไป 1 เดือนควรทบเรารวบยอดทวนอีกครั้งตอนสอบกลางเทอม อย่าลืมว่าความรู้ใหม่ที่เรารับเข้าไปในแต่ละวันจะมีพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ เราควรทำโน้ตย่อสาระสำคัญรวบรวมบทนิยาม สูตร กฎ และวิธีการ เราทบทวนจากโน้ตย่อจะช่วยให้เราเสียเวลาทบทวนน้อยลง
เหตุที่ว่า ทำไมเด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์
มีหลายสาเหตุ บางคนไม่ชอบเพราะไม่ถนัด มันยากเกินไป ไม่ชอบคิด พวกนี้ไม่ค่อยจะประสบผลสำเร็จในการทำแบบฝึกหัด มักทำไม่ได้หรือทำผิดบ่อยๆ จึงท้อแท้ เบื่อหน่าย และเกลียดในที่สุด บางคนไม่ชอบเพราะครูสอนไม่เข้าใจ สอนไม่สนุก ครูดุ จู้จี้ขี้บ่น ให้การบ้านเยอะ
ทางแก้อยู่ที่ครูจะต้องสำรวจว่าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์เพราะอะไร ครูต้องปรับปรุงการสอนทำของยากให้เป็นของง่าย ทำของน่าเบื่อหน่ายให้น่าสนุก และควรปรับปรุงบุคลิกให้ไม่ดุจนเกินไป ไม่เจ้าระเบียบมากจนเกินเหตุ การบ้านก็มีแต่พอควร เลือกให้เด็กทำสิ่งที่สำคัญและจำเป็นก่อน
ถ้าเราเลือกครูไม่ได้ บังเอิญเราต้องเรียนกับครูที่สอนไม่รู้เรื่อง สอนไม่สนุก ดุ จู้จี้ขี้บ่น เราต้องหาตำราหลายๆ เล่มมาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เมื่อไม่เข้าใจให้ปรึกษาผู้รู้ ถามกันอธิบายกันในหมู่เพื่อนๆ เราอดทนในที่สุดเราจะพบว่า เราเป็นคนเก่งคนหนึ่ง
เรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ โจทย์ปัญหาทุกเรื่อง วิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ดีต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจโจทย์เสียก่อน มีคำศัพท์อะไรที่เราไม่รู้จักหรือลืม มีข้อความตอนใดที่เราไม่เข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจก่อน โจทย์ถามอะไร และโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้าง อาจวาดภาพช่วย อาจสร้างตารางช่วย
ขั้นต่อไปวางแผนแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหา และสุดท้ายเราต้องตรวจสอบคำตอบ ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ แนะนำโดย จอร์จ โพลยา ได้รับความนิยมมากว่า 50 ปี
ที่สำคัญเราควรฝึกการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อสะสมประสบ การณ์ยุทธวิธีการแก้ปัญหา
ตัวอย่างปัญหาในระดับมัธยมศึกษาที่เด็กในระดับประถมศึกษาก็แก้ได้ มีนกและหนูรวมกัน 15 ตัว นับขารวมกันได้ 40 ขา ถามว่ามีนกและหนูอย่างละกี่ตัว เด็กระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมักจะใช้วิธีแก้สมการ เด็กระดับประถมศึกษาจะใช้วิธีวาดภาพ หัว 15 หัว แล้วเติมขาทีละ 2 ขา ได้ 30 ขา เหลือขาอีก 10 ขา นำไปเติมจะได้หนู 5 ตัว เด็กบางคนใช้วิธีลองผิดลองถูกเช่นสมมุติว่ามี นก 7 ตัว มีหนู 8 ตัว แล้วคำนวณขาว่าได้ 40 ขา หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ลดหรือเพิ่มจำนวนตัวสัตว์ไปเรื่อยๆ ก็จะพบคำตอบซึ่งอาจช้า บางคนอาจสร้างตารางแจงนับทุกรูปแบบเริ่มตั้งแต่ นก 1 ตัว หนู 14 ตัว จนถึงนก 14 ตัว หนู 1 ตัว แล้วตรวจสอบนับจำนวนขาจะได้คำตอบเช่นกัน
วิธีหนึ่งสำหรับคนที่มีเวลาน้อย เริ่มด้วยการทบทวนบทนิยาม สูตร กฎ วิธีการจากโน้ตย่อ จากนั้นทบทวนวิธีการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาโดยนึกว่าแผนการแก้ปัญหาสำหรับโจทย์ข้อนี้จะเป็นอย่างไรแล้วตรวจสอบจากเฉลยที่เราทำแบบฝึกหัดไว้ เราไม่ต้องลงมือแก้ปัญหาจริง เพียงแต่คิดวิธีการโดยเฉพาะข้อยากเราต้องคิดก่อน แต่ถ้าเรามีเวลามากเราก็อาจทบทวนโดยลงมือแก้ปัญหาอีกครั้งก็จะทำให้เราได้ฝึกฝนความแม่นยำ
คนที่เก่งคณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง เพราะคณิตศาสตร์มิใช่เป็นเพียงราชินีของวิทยาศาสตร์ดังเช่นที่ เกาส์นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้ในอดีตเท่านั้น ปัจจุบันคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของศาสตร์อีกหลายสาขาเช่น วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ฯลฯ เราลองนึกภาพถ้าเรามีเกษตรกรที่เก่งคณิตศาสตร์ เราคงจะได้ปุ๋ยสูตรใหม่ๆ การกำจัดแมลงวิธีใหม่ หรือพืชพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะกับบ้านเรา หรือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทำเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่า ตลอดจนแปรรูปผลิตผลทางเกษตรให้เป็นสินค้าที่จะนำรายได้สู่ครอบครัวหรือประเทศ เรามีคนที่มีคุณสมบัติอย่างนี้น้อยมาก
ประเทศชั้นนำของโลกให้ความสำคัญต่อคณิตศาสตร์อย่างยิ่ง บางประเทศพัฒนาเด็กจนสามารถมีเด็กเก่งคณิตศาสตร์ได้ถึงร้อยละ 40 เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน บางประเทศถ้าเห็นว่าคณิตศาสตร์ของประเทศตนแย่ลงเพียงเล็กน้อยก็จะทุ่มเทให้ความสำคัญเช่นสหรัฐอเมริกา แต่ประเทศเรามีคนเก่งคณิตศาสตร์ตามธรรมชาติปริมาณไม่เกินร้อยละ3 โดยที่ความเก่งนั้นเมื่อเทียบกับต่างประเทศเรายังอยู่ในอันดับท้ายๆ เราให้ความสำคัญในด้านนี้น้อยเกินไป ประเทศเรามีนักคณิตศาสตร์ประมาณ 30 คน มีคนเล่าว่าเวียดนามมีถึง 600 คน ปัจจุบันเราต้องจ้างศาตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ชาวเวียดนามมาสอนในมหาวิทยาลัย
บันทึกการเรียครั้งที่ 1
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน
"วิชาการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
1.อาจารย์ได้ให้แนวการสอนและข้อตกลง การปฏิบัติตนในการเรียนรายวิชานี้
2.อาจารย์จะปล่อยนักศึกษาก่อนเป็นเวลา 40 นาที ซึ่งจะเลิกเรียนในเวลา 16.50 น.
มีข้อแม้ว่านักศึกษาจะต้องทำบล็อกส่งในวันเสาร์ของทุกสัปดาห์
ขาดเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)